Toyota carbon neutrality กับพลังงานทางเลือกที่หลากหลาย

0

Toyota carbon neutrality กับพลังงานทางเลือกที่หลากหลาย โตโยต้า กับพลังงานทางเลือก สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน การประชาสัมพันธ์ให้คนเห็นถึงคุณประโยชน์ของไฮโดรเจนในการนำมาใช้เป็นพลังงานและช่วยลดมลพิษ โตโยต้าพยายามทำให้ทุกคนเห็นว่าการเลือกใช้พลังงานทางเลือกนั้นไม่ได้มีแต่พลังงานไฟฟ้าพียงอย่างเดียว แต่มันมีอีกหลากหลายที่ให้เราได้เลือกใช้ หนึ่งในนั้นอีก ก๊าซไฮโดรเจน

แนวคิดการนำก๊าซไฮโดรเจนมาใช้งาน ถูกนำเสนอออกมา ดูน่าสนใจคือ ไฮโดรเจน มีมากมายรอบตัวเรา ประโยชน์ที่ถูกนำไปใช้มีหลากหลายได้ ตั้งแต่วงการอุตสาหกรรมไปยันวงการอาหาร สิ่งสำคัญ คือ สามารถผลิตได้จากหลายแหล่งที่มา ทั้ง การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมันหรือถ่านหิน), การใช้ชีวมวล (เศษไม้หรือขยะ) และการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน (พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม) ทั้งยังกักเก็บได้นาน ราคาไม่แพง เป็นพลังงานสะอาดชนิดหนึ่ง ที่สามารถเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมความหลากหลายในรูปแบบพลังงาน ได้เป็นอย่างดี

Toyota carbon neutrality

ส่วนวิธีการนำไฮโดรเจนไปเป็นพลังงานขับเคลื่อนของโตโยต้า อย่างในรถ Toyota Mirai ก็คือ การแปลงพลังงานจาก ไฮโดรเจน ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยผ่านตัวแปรอย่าง Fuel cell stacks แล้วส่งไปใช้เป็นพลังงานขับเคลื่อนตัวรถที่โตโยต้าเรียกว่า FCEV แต่อีกหนึ่งแนวทางที่โตโยต้ากำลังพัฒนาอยู่นั้นก็คือ เครื่องยนต์พลังงานไฮโดรเจน

ซึ่งมีประจำการอยู่ในรถต้นแบบทั้ง 3 รุ่น GR Yaris H2 Concept , GR Corolla H2 Concept และ Corolla Cross H2 Concept ทั้งวหมดเป็นเครื่องยนต์เดียวกัน คือเครื่องยนต์ที่นำมาดัดแปลงนั้นนำมาจาก GR Yaris คือ เครื่องยนต์ 3 สูบ 1.6 ลิตร เทอร์โบ กำลัง 300 แรงม้า ดัดแปลงระบบเชื้อเพลิง ระบบหัวฉีด ใหม่หมด เพื่อทำให้เครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนไม่ปล่อย CO2 จะปล่อย NOX ในปริมาณเพียงน้อยนิด นอกนั้นสิ่งที่ถูกปล่อยออกมาจากท่อไอเสียก็คือ ไอน้ำ

Toyota carbon neutrality

อธิบายง่ายๆครับ GR Corolla H2 Concept คันนี้ยังมีเครื่องยนต์อยู่ แต่เครื่องยนต์ถูกดัดแปลงระบบฉีดเชื้อเพลิง จากน้ำมันเบนซินมาเป็นก๊าซไฮโดรเจน (คล้ายๆรถ LPG NGV นั้นละครับ ) กระบวนการของไฮโดรเจนที่เข้าไปในกระบอกสูบ ถูกบีบอัด และจุดระเบิดคล้ายกับเครื่องยนต์สันดาปภายในทั่วไป

แต่การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงไฮโดรเจนมันไม่ก่อให้เกิด CO2 ส่วนเครื่องยนต์ยังต้องใช้น้ำมันหล่อลื่นเหมือนเดิม แต่มันก็จะโดนเผาไหม้ในกระบวนการจุดระเบิดและปล่อยออกมาเป็นก๊าซ NOX ในปริมาณเพียงเล็กน้อย

แต่ก็ยังถือว่าสะอาดกว่าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมอยู่มาก ที่สำคัญรถคันนี้ยังมีเสียงของเครื่องยนต์ให้เราได้อารมณ์ในการขับขี่อีกด้วย ต่างจาก Toyota Mirai ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงที่ใช้ไฮโดรเจนหรือ  FCEV ซึ่งรถเซลล์เชื้อเพลิงนั้นไม่มีเครื่องยนต์ ไฮโดรเจนที่ถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า FCEV จะถูกสังเคราะห์พลังงานในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยแปลงไฮโดรเจนมาเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อป้อนให้กับแบตเตอรี่

Toyota carbon neutrality Toyota carbon neutrality

เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีเชื้อเพลิงแบบใหม่ที่กำลังทำการวิจัยโดยใช้การแข่งขันรถยนต์เพื่อเก็บข้อมูล และเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นกลางทางคาร์บอนตามแผนงานที่ได้วางเอาไว้ โดย FCEV จะเน้นไปที่รถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป เพราะโตโยต้าได้ผลิต Toyota Mirai มาจำหน่ายแล้ว ส่วนระบบ HICEV หรือระบบเครื่องยนต์ไฮโดรเจน นั้นอาจจะพัฒนาต่อยอดไปใช้ในรถยนต์เพื่อการพาณิชย์เป็นหลัก ซึ่งในอนาคตอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเราต้องคอยติดตามกันต่อไป

สุดท้ายปลายทางของรถทั้ง 2 รูปแบบไม่ว่าจะเป็น FCEV หรือ HICEV  เป้าหมายหลักคือ การเพิ่มทางเลือกของพลังงานใหม่ และการไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซค์ออกมาเป็นมลพิษ นั้นเอง

ด้านความปลอดภัย วิศวกรโตโยต้าบอกว่า มีการออกแบบและพัฒนามาเป็นเวลายาวนานด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง  พร้อมทั้งมีการทดสอบการชนว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ก๊าซไฮโดนเจนจะถูกปล่อยออกจากถังทันที โดยไม่มีการระเบิด วิธีการในการสร้างเชื่อมั่น ไม่มีอะไรดูจะดีไปกว่าลงมือพิสูจน์ให้เห็นด้วยตัวเอง

จึงยกทีมแข่ง Rookie Racing พร้อมรถแข่งที่พัฒนาให้ใช้พลังงานไฮโดรเจนอย่าง GR Collora H2 Concept มาลงวิ่งแข่งขันในรายการ Idemtisu 1500 Super Endurance 2022 สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต บุรีรัมย์ และลงไปขับด้วยตัวเองทั้งประธาน Akio Toyoda และ Daisuke Toyoda ลูกชายของเขา

นอกจากนี้ยังขนสถานีเติมไฮโดรเจน พร้อมถังบรรจุมาจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อสาทิตการเติมเชื้อเพลิงชนิดนี้ให้เห็นถึงความไวในการเติมเต็มถังด้วยการใช้เวลาเพียง 4-5 นาที ไม่ต่างจากการเติมน้ำมัน แถมยังใช้ก๊าซจากพันธมิตร อย่าง BIG ผู้นำนวัตกรรมก๊าซอุตสาหกรรมครบวงจรของประเทศไทย

เมื่อไฮโดรเจน เป็นก๊าซที่สามารถผลิตได้จากหลากหลายกรรมวิธี ในฐานะบริษัทผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลก การพัฒนาสินค้าให้สามารถรองรับการใช้งานพลังงานชนิดนี้ได้ เป็นการกระตุ้นให้มีผู้ลงทุนในธุรกิจพลังงานชนิดนี้ให้เกิดขึ้นได้ไม่ยาก ซึ่งเมื่อเกิดความแพร่หลาย เรื่องการเข้าใกล้เป้าหมาย Zero Carbon ภายในปี ค.ศ.2050 ก็ดูว่าจะไม่ยาก

Toyota carbon neutrality

Toyota carbon neutrality งานนี้ยังมีการจัดนิทรรศการ Carbon Neutral Exhibition” แสดงถึงความพยายามของโตโยต้าในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutral) ผ่านการใช้พลังงานทางเลือกที่หลากหลาย (Multi Pathway) อาทิ รถปิ๊กอัพไฟฟ้า Hilux REVO BEV, รถแข่งแรลลี่พลังงานไฮโดรเจน GR YARIS H2 WRC, รถยนต์ไฮบริด PRIUS PRIME Plug in hybrid, รถยนต์ไฟฟ้าเซลส์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน MIRAI FCV,

Toyota carbon neutrality

รถตู้ไฟฟ้าเซลส์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน MAJESTY FCV ที่สามารถนำกระแสไฟฟ้ามาใช้ภายนอกรถสำหรับทำกิจกรรมต่าง เช่น เปิดร้านกาแฟ รวมทั้งนิทรรศการเมืองต้นแบบแห่งความเป็นกลางทางคาร์บอนที่พัทยา

การสาธิตการทำงานของรถ Folk lift พลังงานไฮโดรเจน รวมไปถึง TOYOTA GAZOO RACING RACING TEAM Hall of Frame และการแข่งขัน Hilux REVO-D Z-edition Slalom Challenge ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ชมจำนวนมาก

 

Comments are closed.